สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด รวมถึงปลาบางชนิดที่รับประทานแล้วเป็นพิษต่อมนุษย์โดยทั่วไปปลาทะเลต่าง ๆ นั้นมีรูปร่างผิดแปลกแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยการกินอาหารการหลบซ่อนตัว หรือการอยู่อาศัย บางชนิดมีรูปร่างแบนลง เพื่อให้เหมาะสมกับการหากินบริเวณหน้าดิน เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ปลาวัว ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า ปลาสิงโต ปลาเหาฉลาม ปลาฉลามกบหรือฉลามแมว ปลาอุบ และ ปลากะรังหัวโขน เป็นต้น
ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร ในทะเลและ มหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่กำบังและหลบภัย อาศัยอยู่มากในช่วงความลึกไม่เกิน 1,000 เมตร จากผิวน้ำ ได้แก่ ปลาที่เรารู้จักดี เช่น ปลาโอ ปลากะพงขาว ปลาหมอทะเล ปลาอินทรีย์ ปลากระเบน ปลาหมอทะเล ปลาฉลาม เป็นต้น ปลาอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ลึกลงไปเกือบถึงพื้นสมุทร ซึ่งลึกประมาณ 2,000 เมตร เช่น ปลาคอด เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่ไม่มีพิษและไม่อันตราย
- ปลาทู (Mackerel)
- ปลาสลิดหินสามจุด (Threespot dascyllus)
- ปลาหูช้างครีบยาว (Longfin batfish)
- ปลาเขียวพระอินทร์ (Moon wrasse)
- ปลาเก๋าแดง (Blacktip grouper)
- ปลาสินสมุทรวงฟ้า (Bluering angelfish)
- ม้าน้ำหนามขอ (Hippocampus histrix)
- ปลาการ์ตูนลายปล้อง (Amphiprion clarkii)
- ปลาโลมา (Dolphin)
สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่มีพิษและอันตราย
- เพรียงทะเล (Sandworm)
- หอยนางรม (Oyster)
- ปะการัง (Corals)
- ฉลาม (Shark)
- แตนทะเล (Sea wasp)
- ปลาสิงโต (Lion fish)
- ดอกไม้ทะเล (Sea anemone)
- เม่นทะเล (Sea urchin)
- แมงกะพรุน (Jelly fish)
ผู้จัดทำ
1.นายรัตนชัย ชาดา เลขที่ 6 ม. 5/5
2.นางสาวสุรีรัตน์ โตสิงห์ เลขที่ 13 ม. 5/5
3.นางสาวประกายมุก ขาวทอง เลขที่ 19 ม. 5/5
Information Technology By : Sureerat
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557
ปลาทู (Mackerel)


ปลาทู เป็นปลาทะเลที่อยู่ในสกุล Rastrelliger ในวงศ์ Scombridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาโอ, ปลาอินทรีและปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทย พบทั้งหมด 3 ชนิด เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จ้าง ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันมาเป็นที่ปรึกษากรมรักษาสัตว์น้ำ (กรมประมงในปัจจุบัน) เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่าง ๆ ในประเทศไทย มีหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์) เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีนมาใช้ทำให้จับปลาทูได้มาก ปลาทูที่เหลือทำเป็นปลาทูเค็มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จนในภาษาอินโดนีเซียเรียกปลาทูเค็มว่า "Ikan siam"
พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจากเยอรมนีตะวันตกมาใช้และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลงในที่สุด
ปลาสลิดหินสามจุด (Threespot dascyllus)
ปลาสลิดหินสามจุด หรือ ปลาโดมิโน เป็นปลาที่มีครีบคู่สามารถแผ่ครีบได้เหมือนพัด ลำตัวค่อนข้างกลม แบนข้างมาก หัวสั้นทู่ สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาเข้ม มีจุดกลมสีขาว 3 จุด ที่บริเวณของด้านข้างลำตัวข้างละจุด และที่ด้านบนของตาอีกจุด ซึ่งจุดสีขาวนี้เมื่อยังเล็กอยู่จะเห็นชัดเจน เมื่อปลาโตขึ้นจะค่อย ๆ เลือนหายไป
มีขนาดโตเต็มที่ได้ 33 เซนติเมตร สามารถพบได้ลึกถึง 55 เมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามชายฝั่งอินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย ปกติจะอยู่รวมกันเป็นฝูงในแนวปะการัง ปลาวัยเล็กจะอยู่รวมกันในดอกไม้ทะเล แต่ไม่สามารถสัมผัสกับหนามพิษของดอกไม้ทะเลได้เหมือนกับปลาการ์ตูนกินโคพีพอด, สาหร่าย, แพลงก์ตอน และครัสเตเชียน เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม
แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94
ปลาหูช้างครีบยาว (Longfin batfish)
ปลาหูช้างครีบยาว หรือ ปลาหูช้างยาว หรือ ปลาค้างคาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาหูช้างกลม (P. orvicularis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ ปลาหูช้างยาวจะมีครีบหลังและครีบท้องยาวมาก ลำตัวมีสีดำ ลักษณะแลดูคล้ายค้างคาว โดยเฉพาะเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน อันเป็นที่มาของชื่อ แต่จะครีบทั้งหมดจะหดสั้นลง รวมทั้งสีก็จะค่อย ๆ ซีดจางลงเมื่อปลาโตขึ้น และบริเวณส่วนหน้าก็จะหดสั้นลงด้วย จนทำให้แลดูกลมป้าน
มีความยาวเต็มที่ราว 70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก ลูกปลาปล่อยตัวเองลอยไปกับกระแสน้ำ ในแถบที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เพื่อหลอกลวงสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า
เป็นปลาในวงศ์นี้ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในน่านน้ำไทย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในขณะนี้ ซึ่งแตกต่างจากปลาหูช้างกลม
แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7
ปลาเขียวพระอินทร์ (Moon wrasse)

ปลาเขียวพระอินทร์์ มีลำตัวยาวรี แบนข้าง พื้นลำตัวสีเขียวตลอดทั้งตัว มีริ้วสีน้ำเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณส่วนหัวมีแถบลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างเป็นสีแดง อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 2-10 ตัว ตามแนวปะการังในแถบอินโด-แปซิฟิก เมื่อขนาดยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีพื้นสีน้ำตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดกลมใหญ่สีดำ
มีขนาดโตเต็มที่ 30 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร หากินสัตว์น้ำขนาดเล็กตามพื้นทะเล รวมทั้งไข่ของปลาชนิดอื่น
เป็นปลาที่สามารถเปลี่ยนแปลงสีและเพศได้ในช่วงการเจริญเติบโต โดยมากจะมีการเปลี่ยนเพศระหว่างการเจริญเติบโตจากปลาเพศเมียเป็นปลาเพศผู้
แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C
ปลาเก๋าแดง (Blacktip grouper)



ปลาเก๋าแดง มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม มีจุดเด่น คือ มีทั้งสีแดงสด, สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด
มีขนาดตั้งแต่ 15-40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ตั้งแต่แอฟริกาใต้, ทะเลแดง จนถึงทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, คาบสมุทรเกาหลี และออสเตรเลีย
เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมใช้ในการบริโภค
ปลาสินสมุทรวงฟ้า (Bluering angelfish)
ปลาสินสมุทรวงฟ้า หรือ ปลาสินสมุทรวงแหวนสีน้ำเงิน ลำตัวมีลายสีน้ำเงินพาดโค้งตลอดลำตัว เหนือแผ่นปิดเหงือกมีวงคล้ายวงแหวนสีฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังตอนท้ายเป็นปลายแหลมยื่นยาวออกไป เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนมีลายพาดขวางสีน้ำเงินสลับฟ้าคล้ายกับปลาสินสมุทรหางเส้น (P. semicirculatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่หางของปลาสินสมุทรวงฟ้าเป็นสีขาว มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ รวมถึงซากโป๊ะหรือเรือจมด้วย ในความลึกตั้งแต่ 3-40 เมตร ขณะยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนจะอยู่ในความลึกเพียง 2-3 เมตร มักอยู่เป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว หรือเป็นคู่ น้อยครั้งที่จะพบเพียงลำพังตัวเดียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินโดนีเซียจนถึงปาปัวนิวกินี, นิวแคลิโดเนีย และทะเลญี่ปุ่น ในน่านน้ำไทยจะพบได้ที่จังหวัดภูเก็ตและสตูล โดยมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "ปลาโนราห์" เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเหมือนกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน ซึ่งนับเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้หลากหลาย ฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ แต่เป็นปลาที่ขี้ตื่นตกใจโดยเฉพาะปลาในวัยอ่อน แต่หากปลาปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วก็จะเป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวอีกชนิดหนึ่ง
แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)