วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

โครงงานสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล

สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล

     ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด รวมถึงปลาบางชนิดที่รับประทานแล้วเป็นพิษต่อมนุษย์โดยทั่วไปปลาทะเลต่าง ๆ นั้นมีรูปร่างผิดแปลกแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยการกินอาหารการหลบซ่อนตัว หรือการอยู่อาศัย บางชนิดมีรูปร่างแบนลง เพื่อให้เหมาะสมกับการหากินบริเวณหน้าดิน เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ปลาวัว ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า ปลาสิงโต ปลาเหาฉลาม ปลาฉลามกบหรือฉลามแมว ปลาอุบ และ ปลากะรังหัวโขน เป็นต้น
     ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร ในทะเลและ มหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่กำบังและหลบภัย อาศัยอยู่มากในช่วงความลึกไม่เกิน 1,000 เมตร จากผิวน้ำ ได้แก่ ปลาที่เรารู้จักดี เช่น ปลาโอ ปลากะพงขาว ปลาหมอทะเล ปลาอินทรีย์ ปลากระเบน ปลาหมอทะเล ปลาฉลาม เป็นต้น ปลาอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ลึกลงไปเกือบถึงพื้นสมุทร ซึ่งลึกประมาณ 2,000 เมตร เช่น ปลาคอด เป็นต้น


สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่ไม่มีพิษและไม่อันตราย
    - ปลาทู (Mackerel)
    - ปลาสลิดหินสามจุด (Threespot dascyllus)
    - ปลาหูช้างครีบยาว (Longfin batfish)
    - ปลาเขียวพระอินทร์ (Moon wrasse)
    - ปลาเก๋าแดง (Blacktip grouper)
    - ปลาสินสมุทรวงฟ้า (Bluering angelfish)
    - ม้าน้ำหนามขอ (Hippocampus histrix)
    - ปลาการ์ตูนลายปล้อง (Amphiprion clarkii)
    - ปลาโลมา (Dolphin)

สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่มีพิษและอันตราย
    - เพรียงทะเล (Sandworm)
    - หอยนางรม (Oyster)
    - ปะการัง (Corals)
    - ฉลาม (Shark)
    - แตนทะเล (Sea wasp)
    - ปลาสิงโต (Lion fish)
    - ดอกไม้ทะเล (Sea anemone)
    - เม่นทะเล (Sea urchin)
    - แมงกะพรุน (Jelly fish)


ผู้จัดทำ
1.นายรัตนชัย  ชาดา  เลขที่ 6 ม. 5/5
2.นางสาวสุรีรัตน์  โตสิงห์  เลขที่ 13 ม. 5/5
3.นางสาวประกายมุก  ขาวทอง  เลขที่ 19 ม. 5/5

ปลาทู (Mackerel)
















ปลาทู  เป็นปลาทะเลที่อยู่ในสกุล Rastrelliger ในวงศ์ Scombridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาโอปลาอินทรีและปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทย พบทั้งหมด 3 ชนิด เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จ้าง ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันมาเป็นที่ปรึกษากรมรักษาสัตว์น้ำ (กรมประมงในปัจจุบัน) เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่าง ๆ ในประเทศไทย มีหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์) เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย  ใน พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีนมาใช้ทำให้จับปลาทูได้มาก ปลาทูที่เหลือทำเป็นปลาทูเค็มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จนในภาษาอินโดนีเซียเรียกปลาทูเค็มว่า "Ikan siam" 
พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจากเยอรมนีตะวันตกมาใช้และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลงในที่สุด



แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B9

ปลาสลิดหินสามจุด (Threespot dascyllus)










ปลาสลิดหินสามจุด หรือ ปลาโดมิโน เป็นปลาที่มีครีบคู่สามารถแผ่ครีบได้เหมือนพัด ลำตัวค่อนข้างกลม แบนข้างมาก หัวสั้นทู่ สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาเข้ม มีจุดกลมสีขาว 3 จุด ที่บริเวณของด้านข้างลำตัวข้างละจุด และที่ด้านบนของตาอีกจุด ซึ่งจุดสีขาวนี้เมื่อยังเล็กอยู่จะเห็นชัดเจน เมื่อปลาโตขึ้นจะค่อย ๆ เลือนหายไป

มีขนาดโตเต็มที่ได้ 33 เซนติเมตร สามารถพบได้ลึกถึง 55 เมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามชายฝั่งอินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย ปกติจะอยู่รวมกันเป็นฝูงในแนวปะการัง ปลาวัยเล็กจะอยู่รวมกันในดอกไม้ทะเล แต่ไม่สามารถสัมผัสกับหนามพิษของดอกไม้ทะเลได้เหมือนกับปลาการ์ตูนกินโคพีพอด, สาหร่าย, แพลงก์ตอน และครัสเตเชียน เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม


แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94

ปลาหูช้างครีบยาว (Longfin batfish)





ปลาหูช้างครีบยาว หรือ ปลาหูช้างยาว หรือ ปลาค้างคาว  มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาหูช้างกลม (P. orvicularis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ ปลาหูช้างยาวจะมีครีบหลังและครีบท้องยาวมาก ลำตัวมีสีดำ ลักษณะแลดูคล้ายค้างคาว โดยเฉพาะเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน อันเป็นที่มาของชื่อ แต่จะครีบทั้งหมดจะหดสั้นลง รวมทั้งสีก็จะค่อย ๆ ซีดจางลงเมื่อปลาโตขึ้น และบริเวณส่วนหน้าก็จะหดสั้นลงด้วย จนทำให้แลดูกลมป้าน

มีความยาวเต็มที่ราว 70
เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก ลูกปลาปล่อยตัวเองลอยไปกับกระแสน้ำ ในแถบที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เพื่อหลอกลวงสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า

เป็นปลาในวงศ์นี้ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ใน
น่านน้ำไทย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในขณะนี้ ซึ่งแตกต่างจากปลาหูช้างกลม


แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7

ปลาเขียวพระอินทร์ (Moon wrasse)



ปลาเขียวพระอินทร์





ปลาเขียวพระอินทร์์  มีลำตัวยาวรี แบนข้าง พื้นลำตัวสีเขียวตลอดทั้งตัว มีริ้วสีน้ำเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณส่วนหัวมีแถบลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างเป็นสีแดง อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 2-10 ตัว ตามแนวปะการังในแถบอินโด-แปซิฟิก เมื่อขนาดยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีพื้นสีน้ำตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดกลมใหญ่สีดำ

มีขนาดโตเต็มที่ 30 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร หากินสัตว์น้ำขนาดเล็กตามพื้นทะเล รวมทั้งไข่ของปลาชนิดอื่น

เป็นปลาที่สามารถเปลี่ยนแปลงสีและ
เพศได้ใน​ช่วงการเจริญเติบโต​ โดยมากจะมีการเปลี่ยนเพศระหว่างการเจริญเติบโต​จาก​ปลา​เพศเมีย​เป็น​ปลา​เพศ​ผู้


แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ปลาเก๋าแดง (Blacktip grouper)



ราคา ปลาเก๋าแดง เก๋าแดง







ปลาเก๋าแดง  มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม มีจุดเด่น คือ มีทั้งสีแดงสด, สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด
มีขนาดตั้งแต่ 15-40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ตั้งแต่แอฟริกาใต้ทะเลแดง จนถึงทะเลอันดามันอ่าวไทยคาบสมุทรเกาหลี และออสเตรเลีย
เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมใช้ในการบริโภค



แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%8B%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87

ปลาสินสมุทรวงฟ้า (Bluering angelfish)








ปลาสินสมุทรวงฟ้า หรือ ปลาสินสมุทรวงแหวนสีน้ำเงิน ลำตัวมีลายสีน้ำเงินพาดโค้งตลอดลำตัว เหนือแผ่นปิดเหงือกมีวงคล้ายวงแหวนสีฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังตอนท้ายเป็นปลายแหลมยื่นยาวออกไป เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนมีลายพาดขวางสีน้ำเงินสลับฟ้าคล้ายกับปลาสินสมุทรหางเส้น (P. semicirculatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่หางของปลาสินสมุทรวงฟ้าเป็นสีขาว มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ รวมถึงซากโป๊ะหรือเรือจมด้วย ในความลึกตั้งแต่ 3-40 เมตร ขณะยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนจะอยู่ในความลึกเพียง 2-3 เมตร มักอยู่เป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว หรือเป็นคู่ น้อยครั้งที่จะพบเพียงลำพังตัวเดียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินโดนีเซียจนถึงปาปัวนิวกินี, นิวแคลิโดเนีย และทะเลญี่ปุ่น ในน่านน้ำไทยจะพบได้ที่จังหวัดภูเก็ตและสตูล โดยมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "ปลาโนราห์" เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเหมือนกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน ซึ่งนับเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้หลากหลาย ฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ แต่เป็นปลาที่ขี้ตื่นตกใจโดยเฉพาะปลาในวัยอ่อน แต่หากปลาปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วก็จะเป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวอีกชนิดหนึ่ง

แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2

ม้าน้ำหนามขอ (Hippocampus histrix)



พ่อม้าน้ำ...สิ่งมีชีวิตเพศผู้ผู้คลอดลูกเอง!






ม้าน้ำหนามขอ หรือ ม้าน้ำหนามยาว  เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกม้าน้ำมีปากที่ยาวกว่าม้าน้ำชนิดอื่น ๆ มีส่วนของหนามยาว ปลายแหลมและคมกว่าม้าน้ำชนิดอื่น ๆ ปลายหนามโค้งเล็กน้อยและมักจะมีสีเข้มหรือดำ มีสีผิวลำตัวแตกต่างกันไป เช่น สีเหลือง, สีเขียว, สีส้ม, สีชมพู มีความยาวเต็มที่ประมาณ 7.9-13.5 เซนติเมตร มีรายงานความยาวสูงสุด 17 เซนติเมตร พบในเขตร้อน แถบทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลางและตะวันตก สำหรับในน่านน้ำไทยพบทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในแนวปะการัง หรือซากเรือจม


แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD

ปลาการ์ตูนลายปล้อง (Amphiprion clarkii)







ปลาการ์ตูนลายปล้อง หรือ ปลาการ์ตูนลายปล้องหน้าทอง เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่งมีสีสันบนลำตัวเมื่อยังเล็ก ด้านล่างจะเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม และด้านบนบริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงดำ เมื่อโตขึ้นสีดำนี้จะค่อย ๆ ลามลงมาเรื่อย ๆ ทางด้านท้องจนดำสนิททั้งตัวขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5.5 นิ้ว พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียจนถึง เมลานีเซีย, ไมโครนีเซีย, เกาะไต้หวัน, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, หมู่เกาะริวกิว และออสเตรเลีย ทางน่านน้ำไทย ไม่พบทางฝั่งอ่าวไทย แต่จะพบทางฝั่งอันดามัน

เป็นปลาการ์ตูนอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง แต่ปลาที่มีขายในตลาดปลาสวยงามส่วนใหญ่ในประเทศไทย ยังเป็นปลาที่จับมาจากแหล่งธรรมชาติจากต่างประเทศอยู่ เนื่องจากมีสีสันที่สวยและได้มาตรฐานกว่า อีกประการ คือ ปลาที่จับได้ในน่านน้ำไทยมักจะตายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากการกระบวนการจับที่ผิดวิธี

แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/Amphiprion_clarkii

ปลาโลมา (Dolphin)





โลมา  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด และน้ำกร่อย มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น

โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือ



แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2

เพรียงทะเล (Sandworm)





เพรียงทะเล  ปัญหาเดียวกับหอยนางรม แต่มักจะเกาะติดอยู่กับโขดหินในระดับผิวน้ำ ปัญหามักเกิดจากการเดินเที่ยวตามโขดหินชายทะเล หากจะเดินเล่นตามโขดหินต้องใช้ความระมัดระวัง ถึงแม้ใส่รองเท้าจะป้องกันได้ แต่ว่าโขดหินมักจะลื่น หากเสียหลักลื่นล้มอาจจะล้มไปกระแทกกับโขดหินที่มีเพรียง หรือหอยนางรมเกาะก็จะทำให้ได้รับความบาดเจ็บ


แหล่งที่มา : http://www.nemotour.com/knowledge/dangerus.htm

หอยนางรม (Oyster)



เปลือกหอยนางรม



หอยนางรม  เป็นพิษภัยที่คนมองข้าม หอยนางรมจะเกาะอยู่ตามโขดหินในระดับผิวน้ำตั้งแต่ระดับน้ำสูงจนถึงระดับน้ำต่ำ ในการครั้งในที่ดำน้ำนักท่องเที่ยวอาจจะพยายามยืนบนก้อนหินใต้น้ำที่มองไม่เห็น อาจจะเป็นในลักษณะของการเหยียบแบบสะเปะสะปะ หากก้อนหินมีหอยนางรมเกาะอยู่ก็จะโดนบาดเหวอะหวะ บางท่านหัวใสใส่รองเท้าขณะดำน้ำ แต่ไม่ใช่ว่าจะรอดเพราะอันตรายอีกอย่างคือการที่โดนคลื่นซัดเข้าไปกระแทกกับโขดหินที่เต็มไปด้วยหอยนางรม ปัญหานี้เกิดจากการก้มหน้าดำน้ำแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ หมายถึงมองดูแต่ที่พื้นอย่างเดียวจนกระทั่งโดนคลื่นซัดเข้าใกล้โขดหินแล้วก็ยังไม่รู้เรื่อง ถ้าโดนคลื่นกระแทกไปโดนกับโขดหินที่มีหอยนางรมล่ะก็รับรองได้ว่าบาดเจ็บเสียโฉมแน่นอน


แหล่งที่มา : http://www.nemotour.com/knowledge/dangerus.htm

ปะการัง (Corals)


10 สถานที่ แหล่งดำน้ำ สวยที่สุดในโลก 2013

10 สถานที่ แหล่งดำน้ำ สวยที่สุดในโลก 2013

Thnapong Banpotjit-4-09


ปะการัง  พิษของปะการังมีสองแบบ คือ

1. พิษจากเมือกของปะการัง ปะการังหลายชนิดมีเมือกที่เป็นพิษ เมื่อสัมผัสแล้วจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปหลายวัน บางชนิดมีพิษที่รุนแรงเช่นปะการังไฟ เมื่อโดนแล้วปวดแสบปวดร้อนและเป็นรอยไหม้เป็นแผลเป็น ดังนั้นเมื่อดำน้ำในเขตน้ำตื้นจงหลีกเลี่ยงที่จะไปสัมผัสกับปะการังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปะการังชนิดใดๆ ก็ตาม เพราะหลายชนิดที่มีพิษ ยากที่จะจดจำ จำง่ายๆ ว่าอย่าไปสัมผัสไม่ว่าชนิดใดก็ตาม

2. พิษจากการบาดเจ็บจากการขีดข่วนหรือโดนคลื่นซัดเข้าไปกระแทกเข้ากับปะการัง ในช่วงที่น้ำลงจะทำให้แนวปะการังอยู่ในระดับน้ำตื้นมากๆ บางจุดปะการังโผล่พ้นน้ำในช่วงที่น้ำลงต่ำสุด อาจทำให้การดำน้ำในเขตปะการังน้ำตื้นเกิดอันตรายเมื่อเราเซไปกระแทกกับปะการัง หรือโดนคลื่นชัดเข้าไปกระแทกกับปะการัง ผิวของปะการังมักจะมีผิวหยาบขุรขระและแหลมคม หากไปกระแทกเข้าก็จะเกิดแผลในบริการที่กระแทก นักท่องเที่ยวก็เสียโฉม แนวปะการังก็อาจจะหักเสียหาย สรุปว่าเสียกันทั้งสองฝ่าย แต่ปะการังมันไม่เจ็บแต่คนซิเจ็บ ถ้ากลัวเจ็บก็ต้องระมัดระวังโดยการไม่ดำเข้าไปในเขตน้ำตื้นจนเกินไป


แหล่งที่มา : http://www.nemotour.com/knowledge/dangerus.htm

ฉลาม (Shark)



ฉลามที่พบในทะเลไทย

ตัวต่อมานะครับ ฉลามหัวค้อน

ฉลามหัวค้อน (อังกฤษ: Hammerhead shark)เป็นฉลามที่มีหน้าตาเเปลกจำพวกหนึ




ปลาฉลาม  เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม


แหล่งที่มา : 

แตนทะเล (Sea wasp)





แตนทะเล  เป็นสัตว์ขนาดเล็กล่องลอยอยู่ในน้ำ บางครั้งก็มีบางครั้งก็ไม่มี ส่วนใหญ่มักจะพบในการลงดำน้ำในช่วงเช้ามากกว่าการลงดำในช่วงบ่าย ลักษณะเป็นสัตว์ทะเลขนาดเล็กจิ๋ว โปรดสังเกตจากในภาพ เห็นหมั๊ยครับ แตนทะเลจัดอยู่ในจำพวกแพงตอนขนาดเล็กมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ มองดูคล้ายว่าในน้ำมีตะกอน สิ่งที่เราสังเกตได้คือว่าน้ำจะขุ่นกว่าปกติเหมือนมีเศษตะกอนลอยอยู่ในน้ำ ซึ่งเราก็จะแยกไม่ออกว่านั่นคือตะกอนหรือแตนทะเล เราจะรู้ก็ต่อเมื่อโดนมันต่อย อาการเมื่อโดนแตนทะเลต่อยจะรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ เหมือนโดนเข็มขนาดเล็กจิ๊ม แต่เจ็บไม่เท่าไรพอทนได้


การรักษา ส่วนใหญ่ไม่แพ้ เมื่อโดนต่อยก็จะรู้สึกเจ็บเฉยๆ แต่สำหรับคนที่แพ้จะมีอาการเป็นจุดแดงและบวมเล็กน้อย แก้ไขด้วยการทานยาแก้แพ้ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้มากจะต้องไปพบแพทย์ฉีดยาสักเข็มก็หาย ที่สำคัญเมื่อโดนแตนต่อยแล้วเกิดตุ่มแดงและคันห้ามเกา ปล่อยไว้อย่างนั้นถึงแม้จะคันก็ทนเอาหน่อย เมื่อทานยาหรือฉีดยาแล้วแผลยุบหายไปก็จะไม่มีแผลเป็น ไม่เสียโฉม


การป้องกัน ไม่มีวิธีป้องกัน หากลงน้ำแล้วก็ต่อยถ้าทนได้ก็ดำต่อไป ถ้าทนไม่ไหวก็ขึ้นมารอบนเรือ ที่เขียนมาก็เพื่อจะบอกให้รู้ว่าเวลาลงดำน้ำแล้วรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ นั่นน่ะกำลังโดนแตนทะเลต่อย เดี๋ยวจะสงสัยว่าเป็นอะไรทำไมถึงเจ็บ


แหล่งที่มา : http://www.nemotour.com/knowledge/dangerus.htm

ปลาสิงโต (Lion fish)





ปลาสิงโต  อาศัยอยู่บริเวณแนวปะการัง พบได้แม้ในระดับน้ำตื้น อย่างตัวนี้พบที่ระดับน้ำประมาณ 1.5 เมตร เป็นปลาที่มีรูปร่างและสีสันสวยงามมาก ปลาชนิดนี้จะว่ายช้ามากเพราะว่าเขาไม่กลัวอะไรเนื่องจากมีพิษรอบตัว เนื่องจากเป็นปลาสวยและเชื่องช้าจึงอาจจะมีใครรู้เท่าไม่ถึงกาลไปไล่จับมันเล่นก็จะถูกเข็มพิษทิ่มแทง บาดแผลที่โดนเข็มพิษจะปวดมากเหมือนโดนปลาดุกตำ

การรักษา ไม่รู้รักษายังไง แต่ควรทานยาแก้ปวดเพื่อให้บรรเทาอาการปวด แล้วปล่อยให้เวลาเป็นตัวรักษา

การป้องกัน เห็นปลาสวยๆ อย่าเข้าใกล้หรือไปจับเล่น เท่านั้นเอง


แหล่งที่มา : http://www.nemotour.com/knowledge/dangerus.htm